วันพฤหัสบดีที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การปลูกไม้ผล

ไม้ผล เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศชนิดหนึ่ง เนื่องจากไม้ผล
สามารถนำมาบริโภคภายในประเทศและจำหน่ายเป็นสินค้าออกที่สำคัญของประเทศ
ไม้ผลที่ปลูกในปจุบันมีอยู่หลายชนิด มีทั่งไม้ผลขนาดเล็กอายุ
สั้นไปจนถึงไม้ผลยืนต้นขนาดใหญ่ เช่น แตงโม แคนตาลูป มะละกอ
กล้วย น้อยหน่า ส้ม ม่ะม่วง มังคุด ฝรั่ง ลำใย ลิ้นจี่ ขนุน กระท้อน
ลางสาด เงาะ ทุเรียน เป็นต้น ไม้ผลเหล่านี้มีปลูกกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ
ขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศ รวมทั่งความนิยมและความต้องการ
ของท้องถิ่นนั้นๆ การนำไม้ผลมาปลูกในโครงการเกษตรทฤษฏีใหม่ถือว่ามี
ความจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากไม้ผลสามารถทำรายได้ดีให้กับผู้ปลูก และเมื่อ
ปลูกแล้วสามารถเก็บผลผลิตได้นาน ไม่ต้องปลูกซ้ำบ่อย ๆ สำหรับชนิดของ
ไม้ผลที่จะนำมาปลูกในโครงการเกษตรทฤษฏีใหม่นั้น ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่
และสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น เกษตรกรสามารถเลือกชนิดไม้ผลตามความ
เหมาะสมของท้องถิ่นตนเอง 


การปลูกมะม่วง

มะม่วง เป็นไม้ผลเมืองร้อนสามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินแทบทุกชนิด ทนต่อสภาพความแห้งแล้งได้ดีกว่าไม้ผลอื่น ๆ จึงเหมาะที่จะนำมาปลูกในโครงการเกษตรทฤฎีใหม่ เนื่องจากมะม่วงสามารถนำมาบริโภคภายในครัวเรือน ทั่งบริโภคสดและแปรรูป รวมทั่งสามารถส่งเป็นสินค้าออกไปจำหน่ายต่างประเทศ นอกจากนี้ มะม่วงเป็นผลไม้ยืนต้นที่ปลูกครั้งเดียวสามารถอยู่ได้นาน เก็บผลผลิตได้เรื่อยๆ เป็นเวลาหลายปี และสามารถปลูกเพื่อเป็นรายได้หลักของครอบครัวได้




สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการปลูกมะม่วง
 มะม่วงสามารถเจริญเติบโตได้ดี ในทุกสภาพพื้นที่และทุกสภาพภูมิอากาศของประเทศ แต่ดินควรเป็นดินที่มีหน้าดินลึก มีความอุดมสมบูรณ์พอสมควร อย่างไรก็ตาม สภาพที่มีฝนชุกมากและกระจายทั่งปีเช่นภาคใต้จะทำให้ได้ผลผลิตต่ำ เนื่องจากมะม่วงต้องการสภาพปลอดฝนและอากาศเย็นในช่วงออกดอก


พันธ์มะม่วงที่เหมาะสมสำหรับปลูกในประเทศไทย
๑. ปลูกเพื่อรับประทานผลดิบ เรียกันทั่วไปว่ามะม่วงมัน มีอยู่หลายพันธุ็์ ได้แก่ เขียวเสวย หนองแซง แรด พิมเสนมัน ฟ้าลั่น เพชรบ้านลาด โชคอนันต์
๒.ปลูกเพื่อรับประทานผลสุก มะม่วงที่นิยมปลูก ได้แก่ อกร่อง น้ำดอกไม้ หนังกลางวัน ทองคำ
๓.ปลูกเพื่อนำไปทำอุตสาหกรรมแปรรูป เช่น มะม่วงแก้ว มะม่วงสามปี


ฤดูปลูก
มะม่วงสามารถปลูกได้ทุกฤดูกาล แต่สภาพที่เหมาะสมที่สุดควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝน คือประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฏาคม เนื่องจากเป็นช่วงที่มีฝนตกสม่ำเสมอ ทำให้มะม่วงตั้งตัวได้เร็วในระยะแรกของการเจริญเติบโต ไม่ต้องเสียเวลาในการรดน้ำ


ระยะปลูก
ระยะปลูกมะม่วงโยทั่วไปใช้ระยะ ๘X๘ หรือ ๖X๖ เมตร แต่ถ้าต้องการจำนวนต้นต่อพื้นที่มาก สามารถปลูกมะม่วงระยะชิด คือใช้ระยะ ๔X๔ หรือ๓ X ๓ เมตร ซึ่งจะต้องตัดแต่งกิ่งอย่างสม่ำเสมอ เพราะถ้าไม่ตัดแต่งกิ่งแล้ว จะทำให้ทรงพุ่มทึบ ผลิตดอกออกผลน้อย


การเตรียมหลุมปลูก
หลุมปลูกมะม่วงควรมีขนาด กว้าง ยาว และลึก ประมาณ ๕๐-๑๐๐ เซนติเมตร ทั่งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของดิน ถ้าดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ควรมีขนาดใหญ่กว่าดินที่มีความอุดมสมบูรณ์มากกว่า การขุดหลุมปลูก ให้แยกดินบนและดินล่างไว้คนละส่วนกัน ขุดหลุมแล้วควรตากไว้ประมาณ ๑-๒ เดือน เพื่อฆ่าเชื้อโรคและแมลง จากนั้นนำดินชั้นบนผสมกับปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกใส่ลงไปในหลุมจนเต็ม แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน


การเตรียมกิ่งพันธุ์
ในกรณีที่ปลูกมะม่วงพันธุ์ดีอยู่ก่อนแล้ว อาจขยายพันธุ์มะม่วงจากต้นเดิมมาปลูกเอง แต่ถ้าเป็นการเริ่มต้น
ปลูกมะม่วงใหม่ ควรซื้อกิ่งพันธุ์ดีจากแหล่งที่ไว้ใจได้ ไม่ควรซื้อกิ่งพันธุ์จากรถเร่จำหน่าย เพราะอาจได้
มะม่วงพันธุ์ไม่ดี หรือไม่ตรงตามพันธุ์ที่ต้องการ กิ่งพันธุ์มะม่วงที่จะนำมาปลูกควรเป็นกิ่งทาบ ไม่ควรใช้กิ่งตอน เพราะกิ่งทาบจะทนต่อการโค่นล้มได้ดีกว่า เนื่องจากมีรากแก้ว กิ่งพันธุ์ที่จะนำมาปลูกควรเป็นกิ่งที่แข็งแรงสมบูรณ์ ไม่อยู่ในระยะพักตัว โดยสังเกตจากบริเวณตายอด ถ้าหากตายอดเต่งหรือปูดออกมา แสดงว่าตายอดนั้นพร้อมที่จะแตกยอดและเจริญเติบโตเป็นยอดใหม่


วิธีการปลูก
  หลังจากเตรียมหลุมและเตรียมกิ่งพันธุ์มะม่วงเรียบร้อยแล้ว ถ้าเป็นกิ่งทาบที่ชำในถุงพลาสติก ให้แกะถุงออก และที่สำคัญอย่าลืมแกะพลาสติกพันรอยแผลออก ถ้าไม่แกะออกจะทำให้มะม่วงไม่เจริญเติบโต เนื่องจากพลาสติกรัดกิ่งไว้ การปลูกให้ฝังกิ่งลึกเท่าระดับโคนต้น กลบโคนต้นให้แน่นไม่ควนฝั่งและกลบถึงรอยแผล เพราะจะทำให้รอยแผลเน่าหรือเกิดโรคได้จากนั้นจึงนำไม้ปักและผูกยึดกิ่งมะม่วงให้แน่น เพื่อป้องกันต้นโยกหรือล้มในช่วงแรกใช้ทางมะพร้าวทำร่มพรางแสงให้กิ่งมะม่วงด้วย หลังจากกิ่งตั้งตัวได้ดีแล้วจึงเอาออก


การดูแลรักษา


๑. การให้น้ำ หลังจากปลูก ถ้าฝนไม่ตกควรรดน้ำทุกวันหลังจากนั้น ๑-๒เดือน ให้น้ำประมาณ ๗-๑๐วันต่อครั้ง ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศถ้าอากาศแล้งก็ควรให้เพิ่มปริมาณการให้น้ำให้มากขึ้น โดยสังเกตจากสภาพดินที่หลุมปลูกว่าแห้งหรือไม่


๒. การใส่ปุ๋ย ควรใส่ปุ๋ยหมักและปุ๋ยคอกควบคู่กับปุ๋ยเคมี ปุ๋ยหมักและปุ๋ยคอกควรใส่ปีละ ๕-๑๐ กิโลกรัมต่อต้นต่อปี เื่พอเพิ่มธาตุอาหารและทำดินให้ร่วนซุย ระบายน้ำได้ดี ส่วนปุ๋ยเคมี ควรใช้สูตร ๑๕-๑๕-๑๕ ใส่ในอัตราที่เหมาสม หลักการคิดอย่างง่ายๆคือ ให้ใส่เท่ากับครึ่งหนึ่งของจำนวนอายุมะม่วง เช่น มะม่วงอายุ ๒ ปี ใส่ปุ๋ย ๑ กิโลกรัม มะม่วงอายุ๕ปี ใส่ปุ๋ย ๒.๕ กิโลกรัม การใส่ปุ๋ยให้แบ่งใส่ ๒ ครั้ง ครั้งแรกใส่ในช่วงต่นฝนหลังจากตัดแต่งกิ่งแล้ว ครั้งที่๒ใส่ในช่วงปลายฝนเพื่อเร่งต้นให้สมบูรณ์ก่อนผลิตดอกออกผล สำหรับวิธีการใส่ปุ๋ยนั้น ควรใส่รอบๆชายพุ่ม โดยขุดเป็นร่องตามแนวรัศมีของทรงพุ่ม โรยปุ๋ยแล้วใช้ดินกลบ หลังจากใส่ปุ๋ยแล้วรดน้ำตามทันที


๓. การกำจัดวัชพืช ควรกำจัดวัชพืชรอบๆโคนต้นมะม่วง โดยเฉพาะในช่วงหน้าแล้ง ควรดายหญ้ารอบโคนต้น แล้วใช้หญ้แห้งหรือฝางคลุมเพื่อรักษาความชื้นให้กับต้นมะม่วง


๔.การตัดแต่งกิ่ง หลังจากเก็บผลผลิตแล้วควรตัดแต่งกิ่งมะม่วงให้ทรงพุ่มโปร่ง โดยตัดกิ่งกระโดง หรือกิ่งที่ไม่สมบูรณ์ เป็นโรคหรือแมลงออก หลังจากตัดกิ่งแล้ว ควรใช้ปูนขาว ปูนแดง หรือสารป้องกันเชื้อราทารอยแผล เพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าทำลาย การตัดแต่งกิ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้ทรงพุ่มโปร่ง แดดส่องถึงภายในทรงพุ่ม โรคและแมลงจะรบกวนน้อยลงนอกจากนี้การตัดแต่งกิ่งยังทำให้มะม่วงสะสมอาหารได้เต็มที่ เพราะจำนวนกิ่งที่ใช้อาหารน้อยลง จะทำให้ผิตดอกออกผลได้ดีขึ้น


๕.การช่วยให้ช่อดอกมะม่วงติดผลดียิ่งขึ้น


๑  ช่อดอกร่วงร่วงไม่ติดผล เนื่อจากถูเพลี้ยจักจั่นทำลาย ชาวบ้านทั่วไปเรียกเพลี้ยจักจั่นว่า "แมงกะอ้่า "
ซึ่งมันจะดูดกินตามช่อดอกมะม่วง มองเห็นเป็นสีดำๆ เป็นเหตุให้ช่อดอกไม่ติดผล ป้องกันจำกัดโดยฉีดพ่นด้วยสารเซฟวิน ๘๕ ในช่วงที่ช่อดอกมะม่วงยาวประมาณ ๓-๔ นิ้ว เพื่อกำจัดเพลี้ย จะทำให้ช่อดอกติดผลดียิ่งขึ้น
๒ .  ก่อนที่มะม่วงจะออกช่อดอกมักจะขาดน้ำ ดังนั้น หลังจากมะม่วงออกช่อดอกเต็มที่แล้ว ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้มะม่วงติดผลได้ดียิ่งขึ้น 
๓. การล่อแมลงให้เข้าช่วยผสมเกสร เช่น การนำปลาเน่าไปแขวนไว้ตามต้นมะม่วง จะทำให้แมลงมาตอม แมลงเหล่านั้นจะช่วยผสมเกสร ทำให้มะม่วงติดผลได้ดียิ่งขึ้น




๖. การป้องกันกำจัดโรคและแมลง


  โรคที่สำคัญและเป็นอันตรายแก่มะม่วงมากที่สุด คือโรค แอนแทรคโนส เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่ง เกิดมาในช่วงที่มีอากาศชื้น อาการของโรค คือ จะมีจุดสีนำตาลดำ ขอบแผลสีเข้ม มักเกิดที่ใบ กิ่งช่อดอก และผล ถ้าเป็นที่ใบอ่อน ทำให้ใบบิดเบี้ยวและยอดแห้ง ป้องกันและกำจัดโดยใช้สารคูปราวิท หรือเบนเลท ฉีดพ่น
  แมลง แมลง แมลงศัตรูมะม่วงที่พบบ่อยๆได้แก่
๑ .แมลงวันผลไม้ แมลงวันจะไข่ไว้ที่ผิวของผล จากนั้นหนอนจะชอนไชเข้าไปในเนื้อผลมะม่วง ทำให้มะม่วงเน่าเสียหายและร่วงหล่นในที่สุด ป้องกันโยห่อผลมะม่วงด้วยกระดาษ และฉีดพ่นยาเพื่อกำจัดแมลงวัน เช่น ดีลดริน คลอเดน เซฟวิน ๘๕
 ๒.  ด้วงเจาะต้นมะม่วง เป็นด้วงปีกแข็ง หนวดยาว ตัวสีน้ำตาล  ด้วงจะวางไข่ตามเปลืกไม้จากนั้นจึงออกเป็นตัวหนอน แล้วเจาะชอนไชเข้าไปในลำต้นหรือกิ่งก้าน ทำให้ต้นหรือกิ่งก้านเป็นรู แห้งตาย หรือฉีกหักลงมา ป้องกันจำกัด โดยทำความสะอาดโคนต้นมะม่วงอย่างสม่ำเสมออย่าให้เปลือกเป็นแผล เพราะหนอนจะเข้าไปได้ง่าย หากพบรูของตัวหนอน ให้ใช้สารเคมีฟุ้งกระจาย เช่น  ฟูโมแก๊ซ ฉีดเข้าไปในรูเพื่อฆ่าตัวหนอน
๓. เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยจักจั่นจะดูดกินน้ำเลี้ยงช่อดอกมะม่วงทำให้เกิดราดำ ดอกไม่ติดผล และร่วงหล่น ป้องกันกำจัดโดยฉีดพ่นด้วยสารเซฟวิน ๘๕ ทุก ๆ ๗ วัน เมื่อมะม่วงเริ่มแทงช่อดอก แต่ควรงดพ่นเมื่อดอกบานแล้ว เพราะจะไปทำลายแมลงที่มาช่วยผสมเกสร


การเก็บผลมะม่วง


   การเก็บผลมะม่วง ควรเก็บผลที่แก่เต็มที่คืออายุประมาณ ๑๐๐-๑๑๐ วันหลังดอกบาน หรือสังเกตุจากลักษณะของผล หากผลแก่แล้ว แก้มผลทั่ง ๒ข้างจะพองโดตเต็มที่ ผลอ้วนกลม สีของผลเปลียนจากเขียวเข้มเป็นเขียวซีดมีไขสีขาวนวลปกคลุมผิวของผล แต่เพื่อความมั่นใจควรสุ่มผลมาทดสอบ โดยนำมาลอยน้ำดู ถ้าจมแสดงว่าแก่จัด แต่ถ้าลอยแสดงว่ายังไม่แก่แต็มที่ ยังไม่ควรเก็บ 




http://www.royal.mju.ac.th/about_project.php?id_sub=4&id_pro=0